การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมสำหรับการพัฒนาด้านงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

หัวหน้าโครงการ : อุบลวรรณา เกษตรเอี่ยม

ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประจำปีงบประมาณ 2557



บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมสำหรับการพัฒนาด้านงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขอบเขตประชากรมุ่งไปที่กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 6 ภาควิชา ทั้งสิ้น 62 คน (ไม่รวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ) โดยคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม (Questionnaire) สำหรับการสำรวจข้อมูลการทำวิจัยและปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในคณะ ดำเนินการตรวจสอบเครื่องมือด้วยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากนั้นนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Gephi ในการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม จนได้ภาพไดอะแกรมการเชื่อมโยง 2 รูปแบบ คือ รูปแบบเป็นทางการ และรูปแบบไม่เป็นทางการ และข้อมูลทางเครือข่ายต่างๆ หลังจากนั้นดำเนินการจัดกลุ่มย่อยสำหรับการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น ผลการดำเนินการทำให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในรูปแบบของเครือข่ายทางสังคมสำหรับการพัฒนาด้านการวิจัย โดยสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการร่วมทำวิจัยในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบเครือข่ายทางสังคมแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยแบบเป็นทางการนั้นการเชื่อมโยงจะถูกแบ่งออกตามแขนงความเชี่ยวชาญของแต่ละภาควิชา เส้นจะวิ่งเข้าหากันเอง ทำให้เห็นว่าการทำวิจัยจะอยู่ในภาควิชาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนรูปแบบไม่เป็นทางการ การเชื่อมโยงกันมีอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีการแบ่งกลุ่ม ทำให้เห็นว่าการทำวิจัยในคณะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้กับบุคคลอื่นๆ ทั้งในและนอกภาควิชามากกว่าแบบเป็นทางการการจัดกลุ่มในการดำเนินงาน การวิจัยต่อไปในอนาคตควรมีการพัฒนาขอบเขตนักวิจัยให้รวมถึงภายนอกคณะวิทยาการจัดการ หรือนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ด้วย จะทำให้เห็นความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆ มากขึ้น และควรศึกษารูปแบบเครือข่ายทางสังคมในการทำวิจัยของคณะอื่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างหรือข้อดีข้อเสียในรูปแบบเครือข่ายแบบต่างๆ


Abstract

This research has the objective for analysis the social network for research development of Faculty of Management Science, Rajabhat Chiang Mai University. The scope of populations focuses on academic staff of 6departments, Faculty of Management Science, Rajabhat Chiang Mai University with total 62 peoples (not include staff who is on leave to study) by using a questionnaire, a group interview and using Gephi software that is a program for analysis data of a formal social network and informal social network. The result of this research can compare the difference between the informal and formal social network of the current research. The network pattern of formal group is a group based on their expert in their own fields, so the formal research group is not crossing a different group. The network pattern of informal group is widespread and no group based. Therefore, doing research of this faculty has an exchange of data and knowledge to other people with both inside and outside the department more than a formal group.

ดาวน์โหลด
บทความ/บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-885800 , FAX : 053-885809

เว็ปไซต์ใช้งานได้ดีกับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป หรือ Google Chrome / Firefox เวอร์ชั่นล่าสุด
พัฒนาและออบแบบโดย นายสิทธิพงษ์ นันตา คณะวิทยาการจัดการ