รูปแบบการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายสันกำแพงต่อการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของชุมชนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
หัวหน้าโครงการ : ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์
ได้รับการสนับสนุนจาก อื่นๆ
ประจำปีงบประมาณ 2558
บทคัดย่อ
"การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลาย สันกำแพงต่อการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ของชุมชนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาหนึ่งที่ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกับนักวิชาการเป็นแบบวิธีสำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถเข้าตามเกณฑ์ของการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมเพื่อสัมภาษณ์หาประเด็นปัญหาในการวิจัย จากการสัมภาษณ์ข้อมูลประวัติความเป็นมาและพัฒนาการเกี่ยวกับการผลิต ผ้าไหมในอำเภอสันกำแพง รวมทั้งศึกษาข้อมูลมาส่งเสริมการพัฒนาแผนการตลาดของกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการดำเนินการรูปแบบการตลาดเชิงรุกให้มากขึ้น โดยใช้เครื่องมือ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบไปด้วย กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหม สันกำแพงและชุมชนอำเภอสันกำแพง จำนวน 17 คน ตัวแทนจากเทศบาลตำบลสันกำแพงจำนวน 3 คน 2)การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางการตลาด ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่แสดงความสนใจผ้าไหมสันกำแพงผ่านการกด Like ใน Fanpage ยุววิจัยผ้าไหมสันกำแพง จำนวน 401 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บข้อมูล และ 3)การศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเชิงรุก ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
ผลการวิจัยด้านการกำหนดแนวทางกระบวนการพัฒนาผ้าไหมลายสันกำแพงเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร่วมกับชุมชนสันกำแพง ดังนี้
1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายสันกำแพง ผ้าไหมลายสันกำแพงเป็นจุดเด่นเพื่อกำหนดเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาในมิติด้านเศรษฐกิจ เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์พิเศษ และเป็นสินค้าที่เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่งเท่านั้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาในท้องถิ่นนำมาใช้ประโยชน์และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า
2. การดำเนินการกำหนดแนวทางการจัดทำสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่กลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขึ้นทะเบียนผ้าไหมลายสันกำแพงเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในเรื่องระบบคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่น ขั้นตอนการเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และความเป็นไปได้และแนวทางการพัฒนาในการนำผ้าไหมลายสันกำแพงขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
3. การประเมินผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสันกำแพงเพื่อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การระดมความคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสันกำแพงชุมชนได้พัฒนาตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภทกระเป๋า ปลอกหมอนอิงและตุ๊กตา เป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ ได้สร้างตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้นมาเพื่อทำการเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันที่ผ่านมาตรฐานชุมชน
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือวัยกลางคน อายุ 50 ปีขึ้นไป รายได้สูง ชอบสวมใส่ผ้าไหมในงานต่างๆ มีความสนใจในกลุ่มสินค้าประเภทผ้าซิ่น กระเป๋า และเสื้อผ้าไหมสำเร็จรูป กลุ่มเป้าหมายรองคือ กลุ่มวัยทำงาน อายุ 30-45 ปี รายได้ปานกลาง สนใจของใช้ที่มีรูปแบบโดดเด่นทันสมัย โดยเฉพาะของใช้และของที่ระลึก ผลการวิเคราะห์ตนเองผ่านแนวคิดส่วนผสมทางการตลาด ประการแรกการวิเคราะห์ตนเองด้านผลิตภัณฑ์ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมโดยให้ผู้เข้าร่วมได้นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับผ้าไหมสันกำแพง ผลจากการดำเนินการพบว่า ชุมชนมีการรับรู้ผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่นลายสันกำแพง มากที่สุด รองลงมาคือกระเป๋าสตรี และ ผ้าปูโต๊ะ ซึ่งเมื่อดำเนินการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์พบว่า จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องแต่งกาย , กลุ่มของใช้, กลุ่มของที่ระลึก ซึ่งในการพิจารณาร่วมของกลุ่มยังคงให้น้ำหนักในส่วนของผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องแต่งกาย (เสื้อพื้นเมือง, ผ้าซิ่นลายสันกำแพง) มากที่สุด ทั้งนี้ยังได้เปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอนาคต พบว่า มีความสนใจในการการขยายสายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเครื่องแต่งกาย โดยสนใจในผลิตภัณฑ์ ผ้าสะไบ ผ้าพันคอ ผ้าไหม Nano เนคไท และผ้าคลุมผม
การวิเคราะห์ตนเองด้านราคา ผลการวิเคราะห์โดยสมาชิกกลุ่มพบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สันกำแพงมีความได้เปรียบด้านราคาเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งในช่วงราคาปานกลาง (2,000-2,500 บาท) และช่วงราคาสูง (3,000 บาท) โดยในช่วงราคาปานกลางมีความได้เปรียบที่ 20-25% และในระดับราคาสูงมีความได้เปรียบที่ 50-117%
การวิเคราะห์ตนเองด้านช่องทางการจำหน่าย ในการวิเคราะห์ร่วมกับกลุ่มพบว่า ช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการจำหน่ายสินค้าในปัจจุบันคือ ร้านค้าในโชว์รูมขนาดใหญ่ , ศูนย์ OTOP ข่วง สันกำแพง, การจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า และจำหน่ายผ่านงานโชว์ต่างๆ ทั้งนี้มีความสนใจร่วมในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน การพัฒนาการจัดแสดงสินค้าในพื้นที่เดิม , การบูรณาการร่วมกับพิพิธภัณฑ์เฉลิมราช, การขายผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต, การจัดทำวิดีทัศน์แนะนำประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และ การจัดกิจกรรมพิเศษอาทิ แฟชั่นโชว์ และนิทรรศการผ้าไหมสันกำแพง การวิเคราะห์ตนเองด้านการสื่อสารการตลาด ในการวิเคราะห์ร่วมกันพบว่า รูปแบบที่มีการดำเนินการในปัจจุบันได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่านถนนคนเดินสันกำแพง, การบอกต่อ, การใช้ Presenter ที่มีชื่อเสียง อาทิ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และการประชาสัมพันธ์ผ่าน Line/Facebook/ Instagram สำหรับสื่อที่ทางกลุ่มมีความต้องการที่จะปรับปรุงได้แก่ การประชาสัมพันธ์ผ่าน Cable TV ท้องถิ่น, การผลักดันจากภาครัฐ
Abstract
Research for Integrated Development of Product Management silk coping the registered geographical indication. Community coping Sankamphaeng Chiangmai Province A research and development program that forms the research was conducted with the participation of members of the academic community is an important way. The goal is to be able to meet the criteria for registration of a geographical indication. Researchers conducted interviews to find issues in research. Information from interviews about the history and development of silk production in Sankamphaeng district. The study plans to promote the development of the group. New product development and implementation of marketing models to be more proactive. Using a participatory workshop on interview knowledge. The sample is composed. The silk manufacturer Chiang Mai's Sankamphaeng district and community representatives from 17 municipalities coping 2 of 3) Factors affecting the development of the market potential. Through quantitative research The samples are those who show an interest in silk coping through Fanpage Like the rest of the Young Research silk 401 people using an online questionnaire to collect data, and 3) to study the development of an aggressive marketing strategy. Through the participation of the community. The findings of the guideline development process silk coping a geographical indication coping with the community. 1. Development of silk coping. Silk is featured coping to determine the identity of the community, and promote development in the economic dimension. As a guide to optimize the production of a standardized product that is unique, special. And that happens in one area only. This is consistent with wisdom passed down and used for local products and adding value. 2. Implementation of the guidelines for the preparation of its geographical indication. From workshops to promote awareness about the registered geographical indication the group is involved in the registration of silk goods is coping geographical indication. The system protected geographical indication products and the benefit of local communities. The process of preparing the registration of geographical indication. And the feasibility and development of the leading silk coping registered geographical indication. 3. Evaluation of Product Development, silk products set the standard for coping. Brainstorming in the product development community has developed coping silk purse out product samples. Cushion and dolls Prototype products Examples prototypes created it to be comparable to similar products, the standards community. The main target group is people aged 50 years and above income like wearing silk in various applications. Are interested in products like readymade garments, bags and sarong. The secondary goal is The group aged 30-45 years, middle-income. Use of a distinctive modern style. In particular, the use of the gift. The analysis via the marketing mix. The first analysis of their products. Using a participatory process by allowing participants to offer feedback on the product involved silk coping. The result of that action. The community is coping pattern recognition products sarong most. Followed by the women's bags and tablecloths, which when executed grouping products that can be classified into three groups: the costumes, the bulk of the group's favor. In consideration of the Group continues to weigh on the part of the costume. (Native shirt, striped sarong coping), most also provided the opportunity for members to participate in the presentation of the development of future products that are interested in expanding its product line in costume. The interest in Saab products, fabrics, silk scarf and tie Nano scarf. Analyzing their price the analysis by the group found. Silk coping with price advantages compared to competing products in the medium price range (2,000-2,500 baht) and the high price (3000 baht) in the middle and has the advantage at 20-25% levels. high prices have the advantage that 50-117% of their analysis of the distribution channel. In conjunction with the analysis found. The channel effectively used today. Shops in large showroom, OTOP Center (Kuang Sankamphaeng Chiangmai), sales in department stores. And sold through various shows We have common interests in the development of distribution channels through. Development of Trade in the same area, integrating seamlessly with the museum celebrates royal, sales via the Internet, a videotape introduced the history of the product and special events such as fashion shows and exhibitions silk. coping Analysis of their marketing communications. The analysis found that joint. Model with operations currently include. Publicity through the pedestrian coping, to tell, to use the Presenter famous as senior officials and publicity through. Line / Facebook / Instagram media that the group needs to improve also. Publicity through local Cable TV, a push from the government.