การพัฒนากลยุทธการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายสันกำแพงจากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
หัวหน้าโครงการ : พุทธมน สุวรรณอาสน์
ได้รับการสนับสนุนจาก อื่นๆ
ประจำปีงบประมาณ 2558
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายสันกำแพงจาก สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สภาวัฒนธรรม สันกำแพง ภายใต้การสนับสนุนด้านแหล่งทุนจาก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ผลจากการทำงานร่วมกับกลุ่มองค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม ในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง ในด้านการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดนั้น พบว่าปัญหาคือ ขาดการพัฒนาในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ ช่องทางการสื่อสารการตลาด ขาดการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อและกระบวนการทำการตลาดเชิงรุก ผลสรุปจากการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการศึกษาบริบทพื้นฐานของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมสันกำแพง และผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการกำหนดโจทย์ในการวิจัยเป็น 3 ประเด็นคือ 1)ผลและบทเรียนในการดำเนินงานด้านการตลาดที่เคยดำเนินการมาของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมสันกำแพงเป็นอย่างไร 2)ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมสันกำแพงคืออะไร 3)แนวทางในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร โดยในการดำเนินการตามโจทย์ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 3 ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาผลและบทเรียนการดำเนินงานด้านการตลาดที่อาศัยองค์ความรู้จากอัตลักษณ์ท้องถิ่นของกลุ่มผลิตผ้าไหมสันกำแพง ชุมชนอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตและปัจจุบัน 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพทางการตลาดของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมสันกำแพง ชุมชนอำเภอ สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3.เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสันกำแพงต่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และดำเนินการศึกษากลุ่มประชากรจำนวน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมสันกำแพง, สภาวัฒนธรรมสันกำแพง และ กลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสนใจผ้าไหมสันกำแพงผ่านการกด Like ใน Fanpage ยุววิจัยผ้าไหม สันกำแพง และได้กำหนดความสำคัญของการศึกษาเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1.การสำรวจรูปแบบการดำเนินด้านการตลาดเดิมของกลุ่ม 2.ความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการตลาด 3.แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยรูปแบบการเก็บข้อมูลตามกิจกรรมดังนี้ 1. การศึกษาผลและบทเรียนการดำเนินงานด้านการตลาดที่ผ่านมา ผ่านกิจกรรมใน 2 รูปแบบ คือ การบรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดทำแผนการตลาด และ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย, การวิเคราะห์ตนเองและการวิเคราะห์คู่แข่ง 2. การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในประเด็น ความคิดเห็นของผู้บริโภคเกี่ยวกับองค์ประกอบทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหม 3. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาด ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการเรียนรู้ผลการดำเนินการตลอดจนการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งจากผลการดำเนินการที่ผ่านมาและแนวทางในการพัฒนาด้านการตลาด มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสันกำแพงและนำผลที่ได้รับมาพัฒนากลยุทธ์การตลาด รวมไปถึง ก่อให้เกิดการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกใน 3 ประเด็นคือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารเรื่องราวของผ้าไหมสันกำแพงให้กับผู้ที่สนใจ 2.การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดที่มีความหลากหลาย และ 3.การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดช่องทางในการสื่อสารการตลาดและสื่อที่มีความหลากหลาย ได้แก่ www.sankamphaengsilk.com , ใบปลิว,บอร์ดประชาสัมพันธ์, วิดีทัศน์ประวัติผ้าไหมสันกำแพง, วิดีทัศน์กิจกรรมพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เฉลิมราชผ้าไหมสันกำแพง, ระบบซื้อขายผลิตภัณฑ์ผ่าน www.sankamphaengsilk.com รวมไปถึงเกิดกระบวนการทำงานในรูปแบบการ บูรณาการร่วมกับพิพิธภัณฑ์เฉลิมราชผ้าไหมสันกำแพง ซึ่งสามารถส่งผลกระทบ (Impact) ได้ในระดับชาติและนานาชาติผ่านการสนับสนุนของหน่วยงานระดับประเทศ อาทิ กระทรวงวัฒนธรรมฯ ,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมหม่อนไหม และเทศบาลตำบลสันกำแพง ปัจจุบันการดำเนินโครงการได้เสร็จสิ้นและมีการถ่ายทอดความรู้ในด้านการบริหารจัดการช่องทางในการขายและการสื่อสารการตลาดไปยังตัวแทนกลุ่มเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการด้วยตนเองต่อไป
Abstract
The research project Development of marketing strategy, product silk from San Kamphaeng geographical indication. The participation of community coping. San Kamphaeng Chiangmai Province Arose from a collaboration between the University and Far Eastern. Chiang Mai Rajabhat University Cultural Council with the support of the donors. Chiang Mai Rajabhat University The result of working with public sector organizations and civil society. In San Kamphaeng district In developing the marketing strategy. The problem is that Lack of development in the distribution channel and channel marketing communications. Lack of support and participation in the development process to the media and aggressive marketing. The results from the area continued to study the context of the silk manufacturer coping. And stakeholders Both government and civil society. The research was conducted to determine the need for research into three issues: 1) the results and lessons learned in the implementation of marketing ever undertaken of the silk manufacturer is coping. 2) factors affecting the development of the market potential of the silk manufacturer is coping. 3) the development of an aggressive marketing strategy is effective. The implementation of such a proposition is intended to operate three reasons: 1. To study the lessons and the marketing that relies on knowledge of the identity of the local silk production coping. Community Sankampang Chiangmai Province Past and present geographical indication And conducted a study population of three groups: the production of silk coping, cultural coping and consumer groups interested silk coping through the Press Like the Fanpage Young Research silk coping and determine the importance of education. 1. the survey is the third form of implementation of the marketing group. 2. Comments on the composition of the consumer market. 3. The development of effective marketing strategies. Based on the format of data collection activities follows. 1. Study the lesson and the marketing of the past. Through activities in two forms is to deliver lectures about the marketing plan and analysis of targeted, self-analysis and competitor analysis. 2. To collect quantitative data on the issue. Comments on the composition of the consumer market that influences the decision to buy silk products. 3. The Forum learned by participation. Develop marketing strategies Results from the past. Resulting in a change in the learning process results, as well as analyze the strengths and weaknesses of the implementation of the past and the development of marketing. A poll of people interested in silk coping and the result has been to develop a marketing strategy to induce the development of a proactive marketing strategy in three aspects: 1. To enhance communication. the story of silk coping with those interested. 2. Development of marketing communications with a variety of distribution channels and the 3. Development of products via the Internet. And causing a channel of communication, marketing and media diversity, including www.sankamphaengsilk.com, flyers, publicity boards, biography, video, silk coping, videotape events celebrating the grand opening of the Museum of the Royal Silk coping. products through the trading system www.sankamphaengsilk.com The process works on the model. Integration with the Royal Museum celebrated silk coping. Which can impact (Impact) at national and international level through the support of international agencies such as the Ministry of Culture. , Tourism Authority of Thailand, Department of Sericulture and San Kamphaeng district. Currently, the project has been completed and the transfer of knowledge in the management of sales channels and marketing communications to the agent group to foster self-managing next.