การค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

หัวหน้าโครงการ : เกษม กุณาศรี

ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ประจำปีงบประมาณ 2558



บทคัดย่อ

ในการศึกษาการค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่เกิดจากความร่วมมือกันของคนในชุมชน เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของอัตลักษณ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาได้ทำการสำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้ผลิตสินค้าชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 415 ราย รวมถึงข้อมูลที่รวบรวมจากเอกสารที่ได้เก็บรวบรวมไว้แล้ว จากนั้นได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ภายในอำเภอแม่แตงมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายประเภท โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องดื่ม ผ้าหรือเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่ง ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารและยา ในการคัดเลือกอัตลักษณ์ท้องถิ่นของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ของคนในชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่น และประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process) มาใช้ในการเลือกอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการคัดเลือกอัตลักษณ์ชุมชนพบว่า อัตลักษณ์ที่ถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับที่หนึ่ง คือ ปางช้างแม่ตะมาน (การท่องเที่ยว) รองลงมาคือ วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน (โบราณสถาน) การผลิตข้าวกล้องแบบธรรมชาติ (การเกษตร) ผ้าปักทำด้วยมือ (องค์ความรู้/ภูมิปัญญา) และพิธีสรงน้ำพระพุทธศตวรรษมุณี (ด้านประเพณี/วัฒนธรรม) จากนั้นได้ทำการคัดเลือกกลุ่มวิสาหกิจฯ และผลิตภัณฑ์ชุมชนนำร่อง โดยการดำเนินการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม ซึ่งพบว่า กลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวแต๋นน้ำแตงโม และกลุ่มประดิษฐ์ของชำร่วยบ้านห้วยชมพู และได้วิเคราะห์ถึงทัศนคติเกี่ยวกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและความเชื่อมโยงระหว่างอัตลักษณ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งพบว่า นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความยินดีที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนมากขึ้น หากรูปแบบของผลิตภัณฑ์แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และให้ความสำคัญกับการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นในผลิตภัณฑ์น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับทัศนคติในด้านอื่นๆ และในส่วนของการวิเคราะห์ความเชื่อมโยง คนในชุมชนให้ความสำคัญสูงสุดในด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากภายในอำเภอแม่แตงนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร รวมถึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ ได้มีวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผลการศึกษาพบว่า ในด้านการตลาดสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวแต๋นน้ำแตงโมอาจมุ่งเน้นไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้เกษียณอายุ และกลุ่มประดิษฐ์ของชำร่วยบ้านห้วยชมพูอาจมุ่งเน้นไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นเด็ก เยาวชน หรือวัยทำงาน และผู้สูงอายุ ในด้านเทคนิคทั้งสองกลุ่มสามารถสร้างเทคนิคการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างและเกิดแนวคิดที่สร้างสรรค์ ในด้านการจัดการทั้งสองกลุ่มมีความสามารถในการบริหารจัดการที่มีคุณภาพทั้งในเรื่องการผลิตและการตลาด และในด้านการเงินทั้งสองกลุ่มมีความสามารถในการสร้างกำไรให้กับตนเอง และมีความสามารถในการลงทุนหรือขยายกิจการได้ในอนาคต จากผลการศึกษาข้างต้น สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบนพื้นฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งผลที่ได้รับคือ 1) สามารถนำผลิตภัณฑ์ที่มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่นทำการเผยแพร่เพื่อทำให้เป็นที่รู้จักทั้งในระดับชุมชน ระดับจังหวัด และระดับประเทศ 2) สามารถผลักดันให้คนในชุมชนเกิดความร่วมมือในการที่จะช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) สามารถแสดงให้คนในชุมชนเห็นถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงและการก่อให้เกิดรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 4) ทำการส่งเสริมในเรื่องของการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าสู่สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ ภายในอำเภอแม่แตง เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากแนวคิดที่สร้างสรรค์ภายในชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายในชุมชน


Abstract

The study of the investigation of community product identity based on creative economy in Mae Tang district, Chiang Mai province aimed 1) to explore community identity as a result of community cooperation 2) to investigate the relationship between community identity, community products, and creative economy 3) to evaluate possibility in community products improvement base on community identity and creative economy in Mae Tang district, Chiang Mai province. This study employed structural interview of 415 producers and accessories, including gathered literatures and study of Mae Tang’s products (categorized into 6 types; food, beverage, textile, ware and accessory, invention and souvenir, and herbs) to be sample data. In terms of community identity selection of Mae Tang district, Chiang Mai province, we focus on Participatory Action Research and Analytic Hierachy Process. The results found that the first priority of identity was elephant camp (tourism) followed by Wat Ban Den temple (Historic site), brown rice (Agriculture), hand-embroidered fabric (Folk wisdom), and sprinkling water onto Buddha image of “Praputhasatawatmunee srimaeteang” (Tradition/Culture). For pilot Community enterprise group and pilot community products, we also concern about community participation. The findings shows that chosen community enterprise were community enterprise of Khaotan crispy cracker and souvenir producer in Ban Huay Chom-Poo. From the analysis of perceptions about community identity and products, we found that visitors and locals were mostly willing to purchase community products more if the package represent the community identity. However, we found that buyer pay least attention to the advertisement and public hearing when compared with the other aspect of perceptions. In term of relationship, they concern the most in aspect of environment due to majority of Mae Tang district are agricultural areas. Moreover, for possibility in community products improvement, we found that marketing of community enterprise of Khaotan crispy cracker focus on retired buyers while community enterprise of souvenir producer in Ban Huay Chom-poo focus on children, youth or working age, and senior buyers. For both community enterprise, they did well in terms of production technique that create community identity, which are creative and different. They were able to manage standard along with the production and marketing. In addition, they managed well in terms of profit earning and increase in branch in the future. From the previous findings, the results led to possibility in community products improvement base on community identity and creative economy as followings; 1) ability to spread out the product that related to community identity to be well-known in community, province, and national levels. 2) ability to push community participation forward in community products improvements 3) ability to show the potential and profit from community products improvements 4) supports for bringing community products into tourist attractions in Mae Tang district in order to get the reputation for products from creative economy which could lead to creative community tourism.

ดาวน์โหลด
บทความ/บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-885800 , FAX : 053-885809

เว็ปไซต์ใช้งานได้ดีกับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป หรือ Google Chrome / Firefox เวอร์ชั่นล่าสุด
พัฒนาและออบแบบโดย นายสิทธิพงษ์ นันตา คณะวิทยาการจัดการ