ปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หัวหน้าโครงการ : ประภัสสร ขาวงาม
ได้รับการสนับสนุนจาก อื่นๆ
ประจำปีงบประมาณ 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกลุ่มปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากรคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเพื่อทดสอบอิทธิพลของปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 97 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 44 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท และมีสถานภาพเป็นข้าราชการ /พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
ผลการจัดกลุ่มปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มี 5 ปัจจัย ประกอบด้วย (1) การออกแบบส่วนแสดงผล (2) ด้านขั้นตอนกระบวนการ (3) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (4) ด้านความคุ้มค่าของระบบ และ (5) ด้านการใช้งานง่ายของระบบ
ผลการการทดสอบอิทธิพลของปัจจัยระบบงานด้านสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความประทับใจของบุคลากร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พบว่า ด้านการออกแบบส่วนแสดงผล ด้านขั้นตอนกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และ ด้านการใช้งานง่ายของระบบ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ความประทับใจ คิดเป็นร้อยละ 61.9
Abstract
This Routine to research is a quantitative research aimed to categorize the electronic document system factors influencing personnel impression of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University and to examine the influences of electronic document system factors on personnel impression of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University.The data was collected from 97 personnel of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University, with the use of questionnaires. The data was analyzed using General Statistics, Factor Analysis and Multiple Regression.
The result of research reveals that most of personnel were female, with an average age of 44 years, graduated with master degrees and a status as a government official/ academic university employee.
The author categorized the attitudinal data into 5 electronic documentary system factors: (1) User Interface; (2) Process; (3) Service Officers; (4) System Worthiness; and (5) User-Friendliness.
The result of the test of influences of electronic document system factors on personnel impression of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University using Multiple Regression reveals that User Interface, Process, Service Officers, and User-Friendly influence on personnel impression. The combination of these electronic document system factors showed 61.9 of personnel impression.