การสร้างเสริมการขยายโอกาสในการทำงาน และจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุชุมชนริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจนอกชุมชน

หัวหน้าโครงการ : เพียงตะวัน พลอาจ

ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ประจำปีงบประมาณ 2559



บทคัดย่อ

การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการสร้างเสริมการขยายโอกาสในการทำงาน และจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุชุมชน ริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจนอกชุมชน เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาหนึ่งที่ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนตำบลริมเหนือกับภาคธุรกิจเป็นแบบวิธีสำคัญ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมการขยายโอกาสในการทำงาน และการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุชุมชนริมเหนือ ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจระดับนอกชุมชน ประชากร ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษา 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลริมเหนือ จำนวน 667 คน และกลุ่มธุรกิจที่อยู่นอกชุมชนและจัดตั้งธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ที่สนใจในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร จากนั้นผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมวิเคราะห์ชุมชนเพื่อหาประเด็นปัญหาในการจัดกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) โดยได้กำหนดปัญหาร่วมกันคือการจัดการขยะในชุมชนเพื่อสร้างรายได้และเป็นสวัสดิการของกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยด้านการสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะด้วยกระบวนการวิจัยเฃิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนริมเหนือ โดยใช้หลักการ A-I-C สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อจัดการขยะตามหลัก 3Rs เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน มีขั้นตอนตามหลักการ 3 ขั้นตอน คือ 1. กระบวนการสร้างความรู้ (Appreciation) ชุมชนมีความต้องการในการเสริมสร้างองค์ความรู้การจัดการขยะที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนใน 3 ประเด็นได้แก่ การแยกประเภทของขยะ การจัดการขยะในครัวเรือนและ การจัดโครงสร้างการทำงานของแต่ละชุมชนโดยมีโครงสร้างการจัดการขยะเป็นเครือข่าย 5 หมู่บ้าน 2. กระบวนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence) กิจกรรมจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมืออย่างมีส่วนร่วมของคนทุกคนในชุมชนด้วยการจัดทำแผนกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการคัดแยกขยะภายใต้ชื่อ “ไร้ค่าแต่พอเพียง” เป็นการสื่อสารโดยผู้นำแต่ละชุมชนชี้แจงคณะกรรมการหมู่บ้าน วัดและโรงเรียน เชิญชวนให้ร่วมมือในการคัดแยกขยะอย่างง่ายที่ชาวบ้านสามารถทำได้ และชี้แจ้งให้ทราบถึงผลกระทบจากขยะให้ประชาชนในตำบลเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง 3. กระบวนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control) เริ่มจากการจัดตั้งศูนย์คัดแยกและรับซื้อขยะชุมชน ทั้ง 5 หมู่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเคลื่อนย้ายขยะชุมชน ส่วนขยะอินทรีย์ได้จัดทำบ่อปุ๋ยน้ำหมักและบ่อกองปุ๋ยชีวภาพ ขยะอันตรายทางเทศบาลตำบลริมเหนือได้จัดเตรียมถังใส่เพื่อใส่ขยะส่วนนี้และเทศบาลจะเข้ามารับเพื่อนำไปทำลายต่อไป การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการคัดแยกขยะในครัวเรือนทำให้ปริมาณขยะลดลงจากเดิมปริมาณขยะในพื้นที่เทศบาลตำบลริมเหนือเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 มีปริมาณขยะเฉลี่ย 1,845.79 กิโลกรัมต่อวัน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 มีปริมาณขยะเฉลี่ย 1,609.29 กิโลกรัมต่อวัน และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 มีปริมาณขยะเฉลี่ย 1,548.87 กิโลกรัมต่อวัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของคนในชุมชนต่อกระบวนการจัดการขยะ ในส่วนของการประเมินผลความสำเร็จของระดับปฏิบัติและความพึงพอใจของชุมชนต่อการจัดการขยะในชุมชนจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลด้านเพศ พบว่า มีเพียงด้านการมีจิตสำนึกในการจัดการขยะมูลฝอยเพียงด้านเดียวที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเปรียบเทียบด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะของชุมชน การนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้มาใช้ในการจัดการขยะในชุมชน และการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลริมเหนือ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และยังพบว่ากลุ่มผู้บริโภคเห็นว่าเกิดภาพลักษณ์ที่ดีและจะตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเมื่อมีโอกาสสูงที่สุดจากความคิดเห็นทั้งหมด


Abstract

Integrated research for enhancing job opportunities and the Elderly Welfare of the Rim-nuar Community of Mae Rim District, Chiang Mai Province under the concept of social responsibility of non-community businesses. It is a research and development project that uses the participatory action research methodology of the elderly members in the Rim-nuar community and the business sector as a critical method. The goal is to benefit the community in creating knowledge, enhancing job opportunities and the welfare management of the elderly community north. Under the concept of social responsibility of non-community business organizations, the population studied in this study were 2 groups: 667 elderly people in the Rim-nuar sub-district municipality and business group outside the community and established a business in Chiang Mai who Interested in corporate social responsibility. The researcher then conducted a community analytical activity to find out the problems in CSR activities. The problem was identified as community waste management to generate income and welfare of the elderly. Be sustainable The research results of participatory waste management through participatory waste management research for elderly communities in the Rim-nuar community by applying the A-I-C principle, community involvement is needed to address 3Rs to sustain sustainable change. There are three steps in principle. 1. Knowledge creation process appreciation, The community has a need to build a knowledge base on waste management that is appropriate to the community context in three areas: Sorting of garbage Household waste management and Structuring the work of each community with a waste management structure is a network of 5 villages. 2. Influence process, The activities will promote and encourage the participation of all people in the community by developing a campaign plan and publicizing the waste separation project under the name. "Worthless but sufficient" is a communication by the leaders of each community. Temples and schools Encourage cooperation in simple waste separation that villagers can do. And to point out the impact of garbage on the people in the district, take part in the conscious waste separation. 3. The Control Process starts with the establishment of a community waste separation and collection center in five villages to facilitate the relocation of community waste. The organic waste has made ponds, fermentation ponds and ponds for bio-fertilizer. Hazardous waste in the Northern District Municipality has prepared a bucket to put this garbage and the municipality will pick it up for further destruction. The change in behavior in the separation of household waste resulted in a decrease in the amount of waste. The amount of waste in the municipal municipality above January 2017 had an average of 1,845.79 kilograms of waste per day. In February 2560, the average amount of waste was 1,609.29 kilograms per day. And in March 2560, the average amount of waste was 1,548.87 kilograms per day. It's a good change, respectively. This is the result of the process of creating participation in community commentary on the waste management process. In terms of the assessment of the achievement of community practice and satisfaction towards community based waste management based on personal status on sex, it was found that only one aspect of solid waste management conscience was disseminated. Differences were statistically significant at the 0.05 level. The comparison of participation in community waste management Applying technology and knowledge to waste management in the community and the waste management of the northern district municipality. There was no statistically significant difference at the 0.05 level. It was also found that the consumers perceived good image and decided to buy goods and services when the highest chance of all opinions was found.

ดาวน์โหลด
บทความ/บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-885800 , FAX : 053-885809

เว็ปไซต์ใช้งานได้ดีกับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป หรือ Google Chrome / Firefox เวอร์ชั่นล่าสุด
พัฒนาและออบแบบโดย นายสิทธิพงษ์ นันตา คณะวิทยาการจัดการ