การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางด้านการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP จังหวัดเชียงใหม่ ปีที่ 2
หัวหน้าโครงการ : กาญจนา สุระ
ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชนOTOP จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สมรรถนะการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินระดับศักยภาพการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำในกลุ่มธุรกิจชุมชนOTOP จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรคือ กลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 124 กลุ่มจาก 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างคือ กลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP ที่มีความสนใจและประสงค์ที่จะพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 8 กลุ่ม เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบไปด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ และเหรัญญิก กลุ่มละ 4 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 32 คน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์บริบทและศักยภาพการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการของผู้นำฯ และแบบประเมินศักยภาพการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำกลุ่มฯ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจะนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจะวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Content Analysis) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ผู้นำกลุ่มฯ ส่วนใหญ่มีจุดแข็งคือ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำงาน มีความเสียสละที่จะช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนมีความใฝ่รู้ แต่มีจุดอ่อนคือ ขาดจิตสำนึกความรู้ความเข้าใจในการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการในประเด็นของความพอประมาณ การขาดภูมิคุ้มกัน สำหรับโอกาสผู้นำกลุ่มส่วนใหญ่ได้รับความช่วยแหลือจากภาครัฐในด้านความรู้ อุปสรรคคือ ความรู้หรือแนวคิดที่ได้รับผู้นำได้ประยุกต์ใช้ไปในทางที่ผิดจนเกิดปัญหาการขาดความพอประมาณ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ศักยภาพการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP ก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับมาก ระดับปานกลาง และระดับน้อย โดยผู้นำกลุ่มฯ ที่มีศักยภาพการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงระดับน้อย ขาดความพอประมาณในการบริหารจัดการผลิต ผู้นำกลุ่มฯ ที่มีศักยภาพการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลางยังคงขาดความรอบคอบ มีความประมาท ส่วนศักยภาพของผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP ในการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงระดับมาก ส่วนใหญ่จะผ่านการคัดสรรด้านคุณภาพจากสำนักงานพัฒนาชุมชนให้ได้ระดับ 4 ดาว และระดับ 5 ดาว โดยผู้นำกลุ่มฯมีการนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปใช้กับการบริหารจัดการพอสมควรในประเด็นของความพอประมาณ การพึ่งตนเอง การมีเหตุผล ศักยภาพการบริหารจัดการของผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชนภายหลังการเข้าร่วมโครงการพัฒนา พบว่า สามารถยกระดับศักยภาพของผู้นำในการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจากระดับน้อยไปเป็นระดับมาก คือ ผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชนจากศิลปะขี้เลื่อย ศักยภาพของผู้นำกลุ่มมหาพนลายต้องในการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสามารถยกระดับจากระดับปานกลางเป็นระดับมากในด้านการบริหารจัดการด้านการผลิต การบริหารจัดการด้านองค์กร การบริหารจัดการด้านการเงิน แต่ไม่สามารถยกระดับศักยภาพด้านการตลาดจากระดับปานกลางมาเป็นระดับมากได้ ผู้นำกลุ่มส่งเสริมพัฒนาอาชีพสามารถยกระดับศักยภาพการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจากระดับมากเป็นมากที่สุดทุกด้านโดยมีระดับความรู้และความเข้าใจในการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารจัดการด้านการผลิต การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์มากที่สุด (3.9 คะแนน) ผลการศึกษา ตามวัตถุประสงค์ของข้อที่ 3 แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ การพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะในประเด็นของการบริหารจัดการผลิตสำหรับผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP ทั้งที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชน OTOP อื่นในส่วนของการใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างคุ้มค่า และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความมีเหตุผล โดยผลิตสินค้าตามที่ตนเองถนัด การบริหารจัดการองค์กร มีการกระจายหน้าที่ให้กับสมาชิกอย่างทั่วถึง ผู้นำฯไม่รับทำงานแต่เพียงผู้เดียว จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกให้มีความชัดเจน การบริหารจัดการคน ต้องมีการวิเคราะห์ศักยภาพที่แท้จริงของผู้นำฯ และผู้นำจะต้องยอมรับในผลการวิเคราะห์และพัฒนาข้อด้อยของตน มีความใฝ่รู้อยู่เสมอ ตลอดจนสร้างเครือข่ายด้านความรู้ระหว่างคนในชุมชนและหน่วยงานภาคี การบริหารจัดการตลาด ควรสำรวจความต้องการของลูกค้าเสมอก่อนทำการผลิต ขยายช่องทางการตลาดเฉพาะช่องทางที่จำหน่ายสินค้าได้เท่านั้น เน้นการพึ่งตนเองโดยจำหน่ายสินค้าแต่เฉพาะภายในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อไม่ให้ ต้นทุนการจัดจำหน่ายสูงขึ้น การบริหารจัดการด้านการเงินไม่ใช้เงินทุนของกลุ่มไปในทางที่ไม่ถูกต้อง มีการบันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอ สร้างความรู้ความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกให้กับสมาชิกให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดทำบัญชีและฝึกการลงรายการบันทึกในบัญชีให้เป็นนิสัย
Abstract
This research aims to 1)analysis the potentiality of the management of OTOP community enterprise base on sufficiency economy in Chiang Mai; 2)evaluate the potentiality of management base on sufficiency economy of OTOP community’s enterprise leaders and 3) to suggest the guidelines to develop the potentiality of management base on sufficiency economy of OTOP community enterprise’s leaders. The population was 124 groups of OTOP community enterprise from 25 district in Chiang Mai. Sample are leaders from 8 groups of OTOP community enterprise who are interested in participating to develop their potentiality in management base on sufficiency economy. All of these leaders consisted of president, vice president, secretary and treasurer totally 32 persons. Data collecting consisted of interviewing OTOP leaders concerning the context and their potentiality to apply the sufficiency economy in management and evaluation the potentiality of OTOP leaders to apply the sufficiency economy in their management. Descriptive analysis , mean and percentage were used to analyze the data. The study illustrated that most of the leaders have paid attention to their work and be helpful for their members but lack of sufficiency and protection in working. They however were assisted in knowledge from the government and other alliance. Although they took short course training , they misunderstood and applied it in a wrong way. Thus it caused them lack of sufficiency. The study also illustrated that the potentiality of OTOP leaders in management before attending the project could be divided in to 3 levels; high, moderate and low levels. Leaders who have low level of potentiality in management lack of sufficiency for production and finance. They spent resources extravagantly. They did not have financial plan. They did not put the right man on the right job. The study illustrated that leaders’ potentiality of management had been improved after participating in the project and could be divided in to 3 levels; high, moderate and low levels. Leaders from Silapapraditkaeluen group could be raised their potentiality from low to high level. The potentiality in management of leaders from Mahaphonlaitong group could be raised from moderate to high level in production, organizational and financial management. They however couldn’t raise their level in marketing management from moderate to high level. Leaders from Occupational and promotion group could be raised their level from low to high level in production, financial and human resource management with the average highest score of 3.9. The guidelines to improve the management of OTOP leaders base on sufficiency economy ; 1) they should save all of the resources for production and spend them economically; 2)they should produce or make all of the products that they can; 3)they should decentralize the duty to all of the members but they do not do their work only by themselves.; 4)they should analyze their potentiality and accept their weakness; 5)they should improve their potentiality by take short course training that other organizations arrange and 6) they should make survey to search for customers’ needs before they make products.