ความรู้ความเข้าใจการใช้ “คูปองดิจิตอลทีวี” ผ่านสื่อโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ของประชาชนที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่

หัวหน้าโครงการ : ศุภนิช จันทร์สอง

ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประจำปีงบประมาณ 2559



บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantity Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ ศึกษาความรู้ความเข้าใจในการใช้ “คูปองดิจิตอลทีวี” ผ่านสื่อโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ของ ประชาชนที่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม (Questionnaires) ทาการ สารวจความรู้ความเข้าใจการใช้ “คูปองดิจิตอลทีวี” ผ่านสื่อโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ของกลุ่ม ตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ประชาชนผู้เป็นเจ้าบ้านที่ได้รับแจกคูปองจากทางสานักงาน กสทช. ที่อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่ จานวนทั้งสิ้น 400 คน เพื่อนาผลที่มาใช้พัฒนารูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมผ่านสื่อ โฆษณาและการประชาสัมพันธ์ และนาผลที่ได้มาทาการประเมินค่า เพื่อวัดผลการดาเนินงานใน ภาพรวมทั้งหมด โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปสาหรับการวิจัย และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่า แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจในการใช้ “คูปองดิจิตอลทีวี” ผ่านสื่อโฆษณาและการประสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (X =3.19, S.D.=0.80) โดยสามารถเรียงลาดับ สื่อที่มีคะแนนมากที่สุด 3 ลาดับแรก คือ ประชาชนทราบว่าหากราคากล่อง STB เกิน 690 บาท จะต้อง จ่ายส่วนต่างเอง (X =3.98, S.D.=0.77) ประชาชนทราบว่าสามารถรับคูปองได้ที่บ้านโดยสานักงาน กสทช. เป็นผู้จัดส่งทางไปรษณีย์ (X =3.87, S.D.=0.77) และประชาชนทราบว่าผู้มีสิทธิได้รับคูปองต้องมี ชื่อเป็นเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน (X =3.87, S.D.=0.96) ตามลาดับ


Abstract

This research aimed to evaluate an understanding of the availability and usage of “Digital TV coupon” through advertising and public relations media of people in Chiang Mai. The sample consisted of 400 household hosts, who were directly provided coupon from the Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC), and who live in Chiang Mai. The questionnaires were administered to collect data that, in turn, were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The research concluded that the scores of the understanding towards the availability and usage of “Digital TV coupon” of people who live in Chiang Mai is higher than the overall average score, X =3.19, S.D.=0.80. It is showed that the sampling group realized that if the STB valued more than 690 baht, they have to pay the difference themselves, X =3.98, S.D.=0.77. They realized that the NBTC delivered the coupons via post, X =3.87, S.D.=0.77. They also recognized that people who is eligible to receive the coupons have to be named as household hosts, X =3.87, S.D.=0.96.

ดาวน์โหลด
บทความ/บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-885800 , FAX : 053-885809

เว็ปไซต์ใช้งานได้ดีกับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป หรือ Google Chrome / Firefox เวอร์ชั่นล่าสุด
พัฒนาและออบแบบโดย นายสิทธิพงษ์ นันตา คณะวิทยาการจัดการ