การจัดการเรียนรู้จากการอภิปรายตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การ เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ : นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

หัวหน้าโครงการ : ประทานพร สุรินต๊ะ

ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประจำปีงบประมาณ 2559



บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเอง (self awareness) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (the achievement motivation) ในการเรียนรู้จากการอภิปรายโดยใช้สื่อตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การ (2) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเอง (self awareness) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (the achievement motivation) ก่อน – หลัง การจัดการเรียนรู้จากการอภิปรายโดยใช้สื่อตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 34 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ (1) กิจกรรมการเรียนรู้จากการอภิปรายโดยใช้สื่อตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การ (2) แบบสอบถามลักษณะประชากร (3) แบบทดสอบการตระหนักรู้ในตนเอง (4) แบบทดสอบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (5) แบบสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และ t- test แบบ dependent sample ผลการวิจัยพบว่า (1) การตระหนักรู้ในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 (2) หลังการจัดการเรียนรู้การอภิปรายตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การแล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้การอภิปรายตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และหลังการจัดการเรียนรู้การอภิปรายตัวแบบบุคคลผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารองค์การแล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


Abstract

The purpose of this quasi-experimental research, with one group pretest-posttest design, are (1) to study the correlation between self-awareness and achievement motivation (2) to compare the levels of self-awareness and the achievement motivation during learning activities applying the discussion instructional method among role models who succeed in managing the organization. The sample groups were students in human resource management major.The study used purposive sampling and obtained the sample size of 34. The instruments used in this research were (1) learning activities by applying the discussion instructional method among role models who succeed in managing the organization (2) a demographic questionnaire (3) a self-awareness scale (4) an achievement motivation scale. (5) an observation of students’ behavior conducted by a researcher. Statistics used for analyzing data were the percentages, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and t-test. The results of this research were as follows: (1) Self-awareness was statistically significant and positively related to achievement motivation at .01 level (2) after conducting learning activities by applying discussion instructional method among role models who succeed in managing the organization, the samples had been learning realization rate, higher than before learning at significant level at .01. Besides, achievement motivation was found no significance difference among the sample groups.

ดาวน์โหลด
บทความ/บทคัดย่อ

ระบบสารสนเทศงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ : 053-885800 , FAX : 053-885809

เว็ปไซต์ใช้งานได้ดีกับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป หรือ Google Chrome / Firefox เวอร์ชั่นล่าสุด
พัฒนาและออบแบบโดย นายสิทธิพงษ์ นันตา คณะวิทยาการจัดการ