ภาควิชาบริหารธุรกิจ
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ








ชื่อปัจจุบัน
        สาขาวิชาการจัดการและการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ชื่อภาษาอังกฤษ
        Management and Human Resource Management Program

สีประจำสาขาวิชา
        สีชมพู

ประวัติความเป็นมา
        คณะวิชาวิทยาการจัดการได้จัดตั้งขึ้นตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2518 ซึ่งได้แก่ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2530 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 104 ตอนที่ 73 ลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2530 และได้ดำเนินการให้บรวิการให้บริการการศึกษาเรื่อยมาจนกระทั้ง พ.ศ.2538 คณะวิชาวิทยาการจัดการ ได้ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะวิทยาการจัดการ" ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538
        ด้านการจัดการเรียนการสอนของคณะวิทยาการจัดการ เมื่อปี พ.ศ.2525 วิทยาลัยครูเชียงใหม่ม(ในขณะนั้น) ได้จัดตั้งโปรแกรมวิชาเอกสหกรณ์ เพื่อดำเนินการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิชาเอกสหกรณ์ ให้แก่นักศึกษาภาคปกติ และปริญญาครุศาสตร์บัญฑิต วิชาเอกสหกรณ์ สองปีหลังอนุปริญญาในโครงการอบรมครูประจำปี พ.ศ.2527 โดยแต่งตั้งอาจารย์จากคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ รวม 5 คน เป็นอาจารย์โปรแกรมวิชาสหรกรณ์ และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานของคณะตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย เริ่มโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ(กศ.บ.ป) โดยเปิดเฉพาะภาคเสาร์-อาทิตย์ในปี พ.ศ.2529 และเริ่มเปิดภาค กศ.บป. จันทร์-ศุกร์ ในปี 2538
        ในปี พ.ศ.2542 คณะวิทยาการจัดการได้ปรับปรุงบริหารจัดการให้เหมาะสมโดยยกเลิกภาควิชา แลใช้วิธิการบริหารจัดการแบบโปรแกรมวิชา โดยมีโปรแกรมวิชาการจัดการ โปรแกรมวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โปรแกรมวิชาการตลาด โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โปรแกรมวิชาการบัญชี โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ และโปรแกรมวิชาเศรษฐศาสตร์อยู่ในสังกัดคณะวิทยาการจัดการ โดยโปรแกรมวิชาการจัดการ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล สิทธิเลิศ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกาย นิมมานเหนินท์และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลิศ กลิ่นรัตน์ ดำรงตำแหน่งประธานโปรแกรมทตามลำดับ และโปรแกรมวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเลิศ กลิ่นรัตน์ ,อาจารย์ศิริจันทร์ เชื้อสุวรรณ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชวิทย์ นิลวรรณ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานโปรแกรมตามลำดับ
        ในปี พ.ศ.2549 คณะวิทยาการจัดการได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ โดยยกเลิกโปรแกรมวิชา และใช้วิธีการบริหารจัดการ แบบสาขาวิชา โดยให้โปรแกรมวิชาการจัดการ และโปรแกรมวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุบรวามเป็น สาขาวิชาการจัดการและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาคนแรกคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชวิทย์ นิลวรรณ (พ.ศ.2549 - พ.ศ.2552) ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธวัชชัย บุญมี

ปรัญญา
        มุ่งผลิตบัญฑิตให้มีวามรู้ ความสามารถ มีทักษะและทัศนคติที่ดีในศาสตร์การบริหารธุรกิจ เป็นบัญฑิตที่มีคุณภาพและจรรยาบรรณ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรทุกภาคส่วนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

วิ​สัยทัศน์
        มุ่งผลิตบัญฑิตที่มีความรู้ ความชำนาญ สามารถคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการจัดการและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ใหม่ มีเจตคติที่ดีในการประกอบอาชีพ

พันธกิจ
        1.พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรของสาขาวิชาให้ทันสมัยสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ
        2.ผลิตบัญฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
        3.ส่งเสริมและพัฒนาคณาจารย์ในสาขวิชาให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
        4.ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม

วัตถุประสงค์
        1.เพื่อพัฒนาและปรับบรุงหลักสูตรของสาขาวิชาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่อง
        2.เพื่อผลิตบัญฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพมาตราฐานวิชาชีพ
        3.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคณาจารย์ในสาขาวิชาให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นในองความรู้ทางงานวิชาการและงานวิจัย
        4.เพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาในสาขาวิชาเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ตลอดจนมีส่วนร่วมในกิจกรรมบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น

อาชีพที่สามารถประกอบหลังสำเร็จการศึกษา         -นักบริหารทรัพยากรมนุษย์
        -การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ
        -นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านทรัพยากรมนุษย์
        -เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
        -เจ้าหน้าที่สรรหาและคัดเลือก
        -เจ้าหน้าที่บริหารค่าจ้างและเงินเดือน
        -เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์
        -เจ้าหน้าที่งานธุรการและงานบุคคล
        -อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง