1. การจัดการศึกษาแนวใหม่ที่มีคุณภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตและสร้างโอกาสทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21th Century Skills) และครอบคลุมผู้รับบริการทุกช่วงวัย
2. การวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการบรูณาการสู่การเรียนการสอนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น
3. บริการวิชาการตามพระราโชบายการพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพ ให้มีความเข้มแข็งในมิติด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในพื้นที่
4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรม
ของท้องถิ่นและของชาติ
5. บริหารจัดการคณะวิทยาการจัดการด้วยหลักความสมดุล ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความทันสมัยของเทคโนโลยี พร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เพื่อให้การบริหารงานของคณะวิทยาการจัดการบรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เรื่องนโยบายและแนวทางพัฒนาคณะวิทยาการจัดการ ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2564- 2567 โดยสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579 (ฉบับปรับปรุง 11 ตุลาคม 2561) นโยบายของรัฐบาลตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการพัฒนาประเทศประเทศ ให้เป็นประเทศไทย 4.0 ภายใต้การขับเคลื่อนโมเดล BCG และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ฉบับปรับปรุงปี 2562 เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย จึงได้กำหนดการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารคณะวิทยาการจัดการไว้ 3 นโยบาย ดังนี้
นโยบายที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาของคณะวิทยาการจัดการให้มีอัตลักษณ์และสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 (21th Century Skills)
1.1 การผลิตบัณฑิต
1.1.1 สร้างบัณฑิตให้มีคุณสมบัติตามอัตลักษณ์ที่สาขาวิชาและคณะวิทยาการจัดการกำหนด พร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม โดยเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักปฏิบัติที่มีทักษะชีวิตและสามารถประกอบอาชีพและจัดการธุรกิจได้
1.1.2 พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ให้มีความโดดเด่น ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
1.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติจริงและการเรียนรู้ในสถานประกอบการตามความเหมาะสมของสาขาวิชา เช่น Problem-based Learning (PBL) Experience-Based Learning (EBL) STEM Education Project approach ศึกษาดูงาน การใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (Start up) ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ในการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจร่วมกับเครือข่าย อาทิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ธนาคารออมสิน เป็นต้น เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตที่เป็นมืออาชีพสามารถทำงานได้ต่อเนื่องหลังจากจบการศึกษา
1.1.4 พัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 และการพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
1.1.5 พัฒนาการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนสู่ความเป็นนานาชาติ ด้วยการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษารวมทั้งหน่วยงานในต่างประเทศที่สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ได้สร้างเครือข่ายไว้
1.1.6 พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและสังคมโลก ด้วยการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายให้นักศึกษามีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21th Century Skills) การเรียนรู้วัฒนธรรม การมีจิตอาสา พร้อมกับปลูกฝังแนวคิดของศาสตร์พระราชาให้กับนักศึกษาและเยาวชน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้
1.1.7 ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นการเตรียมพร้อมนักศึกษาในระหว่างเรียนให้เป็นบัณฑิตที่สามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้ในโลกหลัง COVID 2019 ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นการสร้างสังคมแห่งการรักที่จะเรียนรู้แบบ Edutainment (Education + Entertainment) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ การปรับทัศนคติ การสร้างแบบอย่างให้บัณฑิตเป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์”
1.1.7 เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองจากการเข้าร่วมประกวดแข่งขันในลักษณะต่างๆ ทั้งทางวิชาการและการแสดงทักษะความสามารถ สร้างโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ในต่างประเทศ และสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการพัฒนาอาชีพ
1.1.8 ให้มีการวัดผลการศึกษาและสัมฤทธิผลทางการเรียน ในทุกหลักสูตรและนำผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนานักศึกษาให้ได้ตามกรอบคุณวุฒิการศึกษาที่กำหนด และมีสมรรถนะตามที่ตลาดแรงงานต้องการ
1.1.9 เปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้ด้อยโอกาส ผู้มีความสามารถพิเศษ และผู้มีคุณธรรมนำความรู้ประพฤติดี
- พัฒนาเครือข่ายทางวิชาการ
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยอื่น ในการทำวิจัยและการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
- พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน หน่วยงานเอกชน และศิษย์เก่า ในการส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัย
- พัฒนาบุคลากร
- การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ ให้เป็นอาจารย์มืออาชีพ (Smart Teacher)
- สนับสนุนการนำเสนอผลงานทางวิชาการให้เวทีการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ
- พัฒนาวัฒนธรรมองค์กร ให้บุคลากรเข้าใจและเห็นถึงโอกาสและความท้าทาย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- ส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ให้มีสมรรถนะสามารถปรับตัวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่อง
นโยบายที่ 2 สนับสนุนการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม และการให้บริการวิชาการตามพระบรมราโชบายในการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2.1 การวิจัย
2.1.1 พัฒนาระบบ กลไก ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาข้อเสนองานวิจัยที่มีผลกระทบสูงสามารถรับงบประมาณการวิจัยจากหน่วยงานให้ทุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้
2.1.2 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานรับทุนวิจัย เพื่อให้ได้ข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีผลกระทบที่สูง สามารถรับทุนวิจัยจากหน่วยบริหารจัดการวิจัย (PMU) ในระบบกองทุน ววน. ได้
2.1.3 สนับสนุนการวิจัยที่เน้นการขยายองค์ความรู้ ดัดแปลงและต่อยอด ในการพัฒนานวัตกรรมสู่การแก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
2.1.4 พัฒนาระบบสารสนเทศงานวิจัย เพื่อการบริหารงานวิจัยอย่างมีระบบ
2.1.5 ส่งเสริมให้อาจารย์ดำเนินการวิจัยโดยการบูรณาการสู่การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมเรียนรู้กระบวนการวิจัยและยังสามารถได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงเพิ่มจากการเรียนภาคทฤษฎี
- การพัฒนานวัตกรรม
2.2.1 ทำความร่วมมือกับเครือข่าย อาทิ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือเพื่อทำความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมผู้ประกอบการโดยให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ
2.2.2 สนับสนุนการนำนวัตกรรมและการทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่มุ่งผลสำเร็จ โดยเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพ
2.3 การบริการวิชาการตามพระบรมราโชบายในการพัฒนาท้องถิ่น
2.3.1 สนับสนุนและพัฒนาการให้บริการวิชาการที่มาจากการร่วมศึกษาปัญหาและความต้องการจากท้องถิ่น โดยนำโครงการวิจัย โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น โครงการพัฒนาการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ให้สามารถพัฒนาท้องถิ่นชุมชนและก่อให้เกิดรายได้ ตามแนวพระราชดำริ
2.3.2 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจ อันเกิดจากการศึกษาปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ให้เหมาะสมตามช่วงวัย
2.3.3 การบูรณาการการสอนสู่การการบริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการเรียนรู้จากประสบการ์และใช้ชุมชนเป็นห้องเรียนแห่งการเรียนรู้
2.3.4 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือการบริการวิชาการกับหน่วยงานในจังหวัด อาทิ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รวมทั้งผู้ประกอบการในจังหวัด เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างผลงานที่เป็นเชิงประจักษ์ต่อสังคม
2.4 การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2.4.1 พัฒนากระบวนการในการเชื่อมโยงกิจกรรมนักศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ในการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
2.4.2 จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมในวันสำคัญของไทยและของล้านนา
นโยบายที่ 3 พัฒนาระบบการบริหารงานของคณะวิทยาการจัดการให้มีประสิทธิภาพด้วยหลัก ธรรมาภิบาลและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
- การบริหารงบประมาณ
- การทบทวนแผนกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติงาน คณะวิทยาการจัดการ
- การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน คณะวิทยาการจัดการ
- การพัฒนาระบบประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
- การบริการให้คำปรึกษาและการเบิกจ่ายงบประมาณของภาควิชา
- การพัฒนาระบบติดตามการใช้งบประมาณของภาควิชาและของคณะ ให้เป็นไปตามแผนงานประจำปี
- การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะวิทยาการจัดการ
- การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ
- การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อรองรับการเรียนการสอน การวิจัย และการบริหารสำนักงาน
- การจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา
- การให้ข้อมูลและความรู้แก่ศิษย์เก่าของคณะวิทยาการจัดการ
3.3 การจัดการความรู้
3.3.1 การพัฒนาโครงการการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและสร้างผลงานความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่บุคลากรได้
3.4 การให้บริการนักศึกษา
- การพัฒนาการให้บริการและการติดต่องานด้านวิชาการแก่นักศึกษา
- การพัฒนาระบบการให้บริการแหล่งฝึกงาน กิจกรรมศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับต่างประเทศ
- การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา
- การพัฒนาระบบสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาจากการจัดกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยการสร้างนวัตกรรมเพื่อจัดการเรียนการสอนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านการบริหารและการประกอบธุรกิจ ซึ่งนักศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษานำไปส่งเสริมองค์ความรู้ด้านธุรกิจให้แก่นักเรียนและชุมชนให้มีงานทำมีอาชีพ อาทิ การเป็นผู้ประกอบการในชุมชน การสื่อสารที่ดีในสังคม เป็นต้น อันจะทำให้มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงมีคุณธรรมเป็นพลเมืองดี
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่นทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและการพัฒนาประเทศชาติ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานวิชาชีพ มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21th Century Skills) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการศาสตร์ (Integrated Curriculum) และจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) ตามความสนใจ ความสามารถ และจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งภายในคณะและระหว่างคณะให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะและเจตคติไปสร้างงานสร้างอาชีพที่มีความโดดเด่นในเชิงนวัตกรรม สามารถปรับใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างสื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจได้ ซึ่งจะเป็นบัณฑิตมีอัตลักษณ์และคุณลักษณะบัณฑิตที่ พึงประสงค์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด การพัฒนาคณะวิทยาการจัดการสู่ความเป็นสากลด้วยการขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในต่างประเทศให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยนำแนวทางและนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมาเป็นหลักในการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ ส่งเสริมให้อาจารย์และบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการเข้าใจและสามารถใช้แนวคิด BCG Economy Model ในการพัฒนาโครงการวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว สนับสนุนการดำเนินการวิจัยด้วยการสร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษา ภาครัฐบาล ภาคเอกชนและเครือข่ายชุมชนนำไปสู่การบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้ การทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มศักยภาพของท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการบูรณาศาสตร์และการบูรณาการสู่การเรียนการสอนอย่างมีส่วนร่วม การจัดตั้งศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริการชุมชนและสามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะและมหาวิทยาลัยตามภาระกิจการพัฒนาพื้นที่เวียงบัวให้เป็นพื้นที่เชิงธุรกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการของคณะวิทยาการจัดการให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับระบบของมหาวิทยาลัย ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของมหาวิทยาลัย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาลโดยยึดหลักการบริหารอย่างมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ (Full Participance)