เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มอบหมายให้ ผศ.เดชวิทย์ นิลวรรณ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซในหลักสูตรการสร้างธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับกลุ่มโรงเรียน ทสรช. ระยะที่ 3 ณ ห้องเอื้องสามปอยหลวง ชั้น 15 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการอบรมในวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2561
การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซในหลักสูตรการสร้างธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับกลุ่มโรงเรียน ทสรช. ระยะที่ 3 สำหรับภาคเหนือ” เป็นโครงการในความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในฐานะเครือข่ายการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการใช้ไอซีทีสร้างรายได้ ในกลุ่มโรงเรียน ทสรช.และร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรม ร่วมกับ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ,สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) , กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้กับนักเรียนในเครือข่าย มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ทสรช.) โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานให้ความรู้ด้านการทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน อาทิ การบริหารจัดการบัญชีและภาษีอากร การท่องเที่ยวชุมชน การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรม work shop เทคนิคการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดส่งสินค้า การประชาสัมพันธ์ โดย Search Engine Marketing (SEM) และเทคนิคการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์:เทคนิคการจัดการกับเรื่องร้องเรียนการบริหารคลังสินค้า การกำหนดราคาขาย การตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนมีประสบการณ์ในการเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าออนไลน์สร้างรายได้ให้กับนักเรียนโรงเรียนและชุมชนในท้องถิ่น โดยการดำเนินงานระยะที่ 3 ปี 2561 ได้มีการขยายผลการดำเนินงานไปยังโรงเรียนในภูมิภาครวม 31 โรงเรียน พร้อมทั้งขยายเครือข่ายพี่เลี้ยงไปยัง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในการร่วมดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือ/สนับสนุนโรงเรียนในโครงการมีประมาณการผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 120 – 140 คน ประกอบด้วยครู-นักเรียนจากภาคเหนือ กลาง ตะวันออกและตะวันตก ประมาณ 100 – 120 คน และ อาจารย์ – นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 20 คน
docs9998