เมื่อวันจันทร์ ที่ 2 สิงหาคม 2564 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 อาคาร 27 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2563 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.กัลทิมา พิชัย รองอธิการบดี และ รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว รวมถึง คุณณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รอง ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ตัวแทนจากธนาคารออมสินส่วนกลาง และ คุณนศร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ภาค 8 และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเข้าร่วมโดยผ่านทางวิธีประชุมออนไลน์
ในงานผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ และรายงานผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา โดยมี คณาจารย์ ชุมชน และ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว หลังจากการรับฟังการกล่าวรายงานและกล่าวเปิดงาน และมอบเกียรติบัตรให้กับตัวแทนนักศึกษาแล้ว รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้นำผู้เข้าร่วมงาน เดินชมผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ ทางคณาจารย์ และนักศึกษาได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลอดระยะเวลาของการทำโครงการ
โดยในปี 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีจำนวนโครงการย่อย เป็นจำนวน 7 โครงการ ประกอบด้วย
1. ทีม GSB new dimension
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พีชผักสมุนไพรและผลไม้ : ผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งออแกนิค
2. ทีม วมส.เพื่อท้องถิ่น
กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ้านกุงไม้สัก : การพัฒนาที่พักโอมสเตย์ และผลิตภัณฑ์ยาหม่องที่ระลึก
3.ทีม ป่าตึงงาม
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติป่าตึงงาม : ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือกระเหรี่ยง
4.ทีม Develop บ้านเมืองกลาง
กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางกรเกษตรบ้านเมืองกลาง : ผลิตภัณฑ์น้ำพริกกากหมูลำใย
5.ทีม หงส์สา
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เวียงพร้าว กรีนวัลเลย์ : ผลิตภัณฑ์เซรั่มข้าวทับทิมชุมแพ
6.ทีม ACE
กลุ่มสมุนไพร 9 อุ้ย : น้ำมันเขียวสมุนไพร
7.ทีม ชุมชนบ้านโป่งพะมอลอ
กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนพะมอลอ : การพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าพื้นเมือง
ทั้งนี้ใด้มีการนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่กลุ่มงานเพื่อคัดเลือกผู้ชนะ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในการประกวดโครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นระดับประเทศต่อไป โดยมีคณะกรรมการจากตัวแทนอาจารย์ และตัวแทนจากธนาคารออมสิน ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาการนำเสนอและตัดสิน โดย ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์มานพ ชุ่มอุ่น คณะกรรมการพิจารณาการนำเสนอ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดีคณะวิทยการจัดการ มอบรางวัลจากการประกวด โดยผลการแข่งขัน มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ทีม หงส์สา
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เวียงพร้าว กรีนวัลเลย์ : ผลิตภัณฑ์เซรั่มข้าวทับทิมชุมแพ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
ทีม ป่าตึงงาม
กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติป่าตึงงาม : ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือกระเหรี่ยง
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
ทีม วมส.เพื่อท้องถิ่น
กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ้านกุงไม้สัก : การพัฒนาที่พักโอมสเตย์ และผลิตภัณฑ์ยาหม่องที่ระลึก
รางวัลชมเชย 4 ทีม
- ทีม GSB new Dimension กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พีชผักสมุนไพรและผลไม้ : ผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งออแกนิค
- ทีม Develob บ้านเมืองกลาง กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางกรเกษตรบ้านเมืองกลาง : ผลิตภัณฑ์น้ำพริกกากหมูลำใย
- ทีม ACE กลุ่มสมุนไพร 9 อุ้ย : น้ำมันเขียวสมุนไพร
- ทีม ชุมชนบ้านโป่งพะมอลอ กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนพะมอลอ : การพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าพื้นเมือง
ทั้งนี้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ของกลุ่มองค์กรชุมชน ประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถบริหารจัดการกลุ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มให้กับนักศึกษา สามารถต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพตนเอง เมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน
กิจกรรมดังกล่าวจัดภายใต้มาตรการเฝ้าระวังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019