มร.ชม. ร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP – วิสาหกิจของจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้โครงการ ยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 รศ.ดร.วัชรพงษ์ รัตนกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานการพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ ณ ห้องประชุมเชียงใหม่ ชั้น 2 โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
ผศ.ดร. ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชี้แจงว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไก การขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ซึ่งคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการสำรวจศักยภาพเครือข่ายและวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีเวทีเสวนาความร่วมมือและทิศทางของการพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ จากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณปรกฤษฎิ์ สายหัสดี เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และที่ปรึกษา yec คุณอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดเชียงใหม่ คุณเจษฎาภัทร์ พันธุ์มี ผู้จัดการโครงการลานนาสแควร์ คุณนริศ บุญสถิตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน OTOP จังหวัดเชียงใหม่ และคุณยุพา จันทร์ดี พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยดำเนินการภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing University โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน เชิงพื้นที่ โดยมี ทีมนักวิจัยโครงการพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ผศ.ดร. กมลทิพย์ คำใจ อ.ดร.อุไร ไชยเสน อ.ดร.ทิพย์พธู กฤษสุนทร และ อ.กิรณา ยี่สุ่นแซม จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาหรือนักวิชาการเครือข่ายด้านต่าง ๆเพื่อจะลดช่องว่าง ของผู้ประกอบการ ทางด้านเทคโนโลยี หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มทางการตลาดต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การมี Timeline ที่ชัดเจนของตลาด เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการเปิดพื้นที่ให้กับสินค้า OTOP ได้แสดงและจัดจำหน่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องตลอดปี
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างกลยุทธ์เครือข่าย OTOP ทางธุรกิจมุมมองของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 12 อำเภอ จำนวน 80 ราย โดยเครือข่ายสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการเรียนรู้และพัฒนา คือ เครือข่ายทางด้านการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้า และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองของเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งเครือข่ายภาคการตลาด การขนส่ง เทคโนโลยี และเครือข่ายภาควิชาการ