คณะวิทยาการจัดการ มหวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

FACULTY OF MANAGEMENT SCIENCES CHIANGMAI RAJABHAT UNIVERSITY


คณะวิทยาการจัดการเป็นองค์กรผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นองค์กรแห่งการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมด้านบริหารจัดการในการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล


the best โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ม.ราชภัฏเชียงใหม่

วันที่ 11 เดือน กันยายน ปี 2023 โดย Admin
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

วันที่ 8 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี 2566 โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมทั้งคณะผู้บริหาร บุคลากรธนาคารออมสินส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เข้าร่วมพิธี ณ ศาลาร่มโพธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว

 “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” เป็นโครงการที่ธนาคารออมสินร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทำกิจกรรมลงพื้นที่สร้างความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยบูรณาการวิทยาการสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัยกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชื่อโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น : การพัฒนาธุรกิจชุมชนให้ยั่งยืนบนฐานอัตลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน” โดยมีกลุ่มชุมชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรแม่แรม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านละอูบ ตามรอยวิถีลัวะ ต.ห้วยห้อม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน, ศูนย์เกษตรชุมชนตำบลสันผีเสื้อ ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, กลุ่มแปรรูปผ้าฝ้ายทอมือ–ผ้าฝ้ายนาโน บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ก๊ะเปียง ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านดอน ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยทั้ง 6 กลุ่มชุมชน มีแผนการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการวางแผน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งการจัดกิจกรรมนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการในครั้งนี้ นับเป็นการแสดงศักยภาพของนักศึกษาที่ดำเนินโครงการ และเป็นการแสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการอีกด้วย

โดยมีผลการคัดเลือกรางวัล The Best การนำเสนอผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566 ดังนี้

-        รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Hello Butterfly @สันผีเสื้อ ของศูนย์เกษตรชุมชนตำบลสันผีเสื้อ ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร นักศึกษาในทีม ได้แก่ นายเจตนิพัทธ์ พยอม, นางสาวรักษ์วนา ดุสิรัตน์, นางสาวสุพัตรา นารีใจ, นางสาวกัญญาพัชร บุญปัญญา, นายภิญโญ ไชยแก้ว,นายเปรมปรีดี มิทธิศร, นางสาวสุกัญญา   กานตารัมภ์, นางสาว  จิณห์วรา ต๊ะชมภู, นายปชาบดี สุทำแปง , นางสาวลักษิกา มูลทุ่ง และนายณัฐพล สุวรรณโน โดยมีอาจารย์กิรณา ยี่สุ่นแซม, อาจารย์ ดร.อุไร ไชยเสน และอาจารย์กุสุมา สีดาเพ็ง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

-        รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม หนองเหงือก ของกลุ่มแปรรูปผ้าฝ้ายทอมือ–ผ้าฝ้ายนาโน บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน รับเงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา อินภักดี และอาจารย์จิราพร ชุมชิต เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

-        รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม FMS2Goal ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรแม่แรม ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รับเงินรางวัล 1,500 บาท พร้อมเกียรติบัตร โดยมี อาจารย์วลัยพร สุพรรณ, อาจารย์กมลวรรธ สุจริต และอาจารย์จุฑาลักษณ์ สายแปง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

-        รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้แก่ ทีม Stronger together team ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ก๊ะเปียง ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, ทีมยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ดินแดนบ้านดอนฝาง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์บ้านดอน ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และทีม วมส.เพื่อท้องถิ่น ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านละอูบ ตามรอยวิถีลัวะ ต.ห้วยห้อม อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน รับเงินรางวัลทีมละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

ทั้งนี้ นักศึกษาทีม Hello Butterfly @สันผีเสื้อ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศนั้น เป็นผลิตภัณฑ์กล่องเลี้ยงหนอนผีเสื้อ Hello Butterfly ของศูนย์เกษตรชุมชนตำบลสันผีเสื้อ ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินโครงการฟาร์มผีเสื้อ สร้างเอกลักษณ์ของตำบลสันผีเสื้อ มีสถานที่สำหรับเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ และมีวัตถุประสงค์พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบล ผลิตภัณฑ์กล่องเลี้ยงหนอนผีเสื้อ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ในการต่อยอดโครงการฟาร์มผีเสื้อ ส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้สนใจได้ศึกษาวงจรชีวิตของผีเสื้อ นับเป็นการบูรณาการภูมิปัญญา นำวิทยาการกระบวนการทำงานสมัยใหม่ยกระดับขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์ ให้มีศักยภาพและมีมูลค่าเพิ่มได้ ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่ Facebook : Hello Butterfly – ชุดกล่องเพาะเลี้ยงผีเสื้อ

ขอบคุณ ภาพ:ข่าว วัชราวรรณ กันทา นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

https://www.cmru.ac.th/news/

 









วิสัยทัศน์
คณะวิทยาการจัดการเป็นองค์กรผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และเป็นองค์กรแห่งการบูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมด้านบริหารจัดการในการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล
อัตลักษณ์
บัณฑิตที่มีความอดทน มุ่งมั่น มีความสามารถในการสื่อสารและจัดการธุรกิจ
เอกลักษณ์
สร้างคนดีที่มีคุณภาพของสังคม



ข่าวล่าสุด





คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 062-310-4902 FAX:053-885809 Contact : cmrumanagement@gmail.com

เว็ปไซต์ใช้งานได้ดีกับ Internet Explorer 9 ขึ้นไป หรือ Google Chrome / Firefox เวอร์ชั่นล่าสุด

พัฒนาและออบแบบโดย นายสิทธิพงษ์ นันตา คณะวิทยาการจัดการ

carpet cleaning palm beach

คณะวิทยาการจัดการ มหวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่คณะวิทยาการจัดการ มหวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่คณะวิทยาการจัดการ มหวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่